You are here
Home > บทความรวมเรื่องกาแฟ > Coffee History 3 กาแฟสู่ยุโรป

Coffee History 3 กาแฟสู่ยุโรป

            ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง กาแฟถูกนำเสนอสู่ยุโรปโดยพ่อค้าชาวเวนิชในช่วงแรกๆนั้นกาแฟถูกต่อต้านอย่างแรงโดยศาสนจักร  Pope’s Councilmen ได้ร้องขอให้ Pope Clemente ที่ 8 ให้ประกาศว่าน้ำดำนี้เป็นของขมที่ซาตานประดิฐขึ้นมาแต่ทว่า Pope ที่ 8 กลับชื่นชอบในรสชาติกาแฟยิ่งนัก ถึงกับประกาศว่าpope-coffee-600x350 copyเครื่องดื่มของซาตานนี้ช่างอร่อยเสียจริง พวกเราจึงควรโกงปีศาจโดยรับเอาเครื่องดื่มนี้เป็นของชาวคริสเตียน กาแฟจึงเป็นเครื่องดื่มชนิดแรกที่ได้รับการล้างบาป กาแฟได้แพร่กระจายสู่ยุโรปผู้คนต่างดื่มด่ำกับมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา เวนิสในช่วงนั้นเป็นเมืองที่มั่งคัง และมีการติดต่อค้าขายกับอาหรับอยู่ตลอด กาแฟนั้นถูกขายตามข้างถนนจนกระทั้ง ปี 1645 ร้านกาแฟแห่งแรกของยุโรปก็ได้เปิดขึ้นที่นี่เวนิส ในปีศตวรรษที่ 1683  หลังจากชัยชนะของยุทธการใหญ่ของฝ่ายกองทัพโปแลนด์, ออสเตรีย และ เยอรมัน ภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์โปแลนด์พระเจ้าจอห์นที่ 3 ที่เรียกว่า Battle of Vienna สงครามที่เวียนนาโดนล้อมอยู่ 2 เดือน ในการต่อสู้กับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน ร้านกาแฟแห่งแรกของเวียนนาเชื่อว่า The Blue Bottle Coffee House ชื่อนี้เป็นที่มาของชื่อร้านกาแฟและโรงคั่วในญี่ปุ่นและอเมริกาหลายๆ ที่ โดยกาแฟพื้นบ้านของเวียนนานั้น เรียกว่า “Melange” ในภาษาฝรั่งเศษแปลว่า”ผสม”ดั้งเดิมนั้นจะใช้กาแฟดำและเติมฟองนมร้อนลงไปคล้ายๆ Cappucino ซึ่งในปัจจุบันอาจจะใช้ whipped cream แทนด้วยฟองนม “Melange” จึงมีส่วนต่างและส่วนคล้ายกับ Espresso Conpana กับ Vienna coffee อยู่พอสมควร ฉนั้นการสั่งกาแฟที่เวียนนาจึงต้องใช้ศีลปะพอสมควร อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี้ [read more=”read more”read less =”read less”]

On the Art of Ordering Coffee in Austria

There is no coffee in Austria. That′s right: there are easily a dozen of coffee variations available in a decent caf้ and ordering simply “coffee” might make the waiter slap you in disgust. If you want to shine in a caf้ in Austria, you will have to get prepared to order something more specific. To help resolving the worst confusion, here a quick overview on the most common coffee specialities:

  • Kleiner Brauner and Großer Brauner: Means “little brown one” or “large brown one” and comes close to what people consider to be ordinary coffee: black with a bit of milk, yet typically not filtered, but steamed like espresso.
  • Melange: The king of coffee, a mix of frothed milk and steamed coffee similar to the Italian cappuccino, but consumed at any time of the day.
  • Milchkaffee or Caf้ latte: A large coffee with frothed milk, has been around for a long time, but recently gained popularity probably due to its fancy Italian name that sounds much cooler than “Milchkaffee”.
  • Einspänner:Strong, black coffee typically served in a high glass with a dash of whipped cream.
  • Fiaker: Named after horse-and-carriages, the Fiaker is a rather not-so-common drink of coffee with a shot of Austrian rum and whipped cream.
  • Mazagran: A cold Fiaker-variation, coffee, ice, a shot of rum – and possibly a bit of sugar. A wonderful boost of refreshing energy in the summer.
  • Konsul: An even less common creation than the Fiaker, a black coffee with a small spot of unshipped cream.
  • Verlängerter: A diluted and thus weaker, but larger version of the Großer Brauner, typically served with milk. Means “extended one”.
  • Schwarzer or Mokka: Strong, black coffee, normally consumed with a lot of sugar, but served without.
  • Kurzer or Espresso: The same coffee, in recent years the Austrian term “Kurzer” (meaning “short one”) has almost gone extinct and these days, the international “Espresso” is to be found on the menus much more commonly.
  • Türkischer: Meaning “Turkish one” and is just that – grated coffee boiled for a long time in water with sugar and served as a very hot, strong coffee with the grains still in the cup.
  • Eiskaffee: Cold coffee with vanilla ice cream, chocolate and whipped cream – served typically in the summer months, but ideal for the hot season. Only ice tea is more refreshing.
  • Cappuccino: What is sold in Austria under that name is NOT the Italian (thus not the international) version of a cappuccino, but a regional variation made from coffee and whipped cream rather than frothed milk.

The coffee consumption of Austria in cup per capita is among the highest in the World – higher than in Italy, which might surprise some of you. Even more surprising are those nations that beat us: Norwegians, for example, drink even more coffee than Austrians. So do the Finish, Danish and Germans.
Over-all, there seems to be North-South gradient running across Europe in terms of coffee aficionados. Coffee beans in Austria are typically roasted until they are very dark, almost black. This is called the “Italian” or “French roast” and the most common tan for coffee beans.

ที่มา: http://www.tourmycountry.com/austria/coffee.htm [/read]

cafehistory               ชาวเวียนนามีเรื่องเล่าโด่งดังเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับรูปปั้นของชายผู้ถือกาน้ำทำท่ารินกาแฟอยู่ตามสถานที่ต่างๆ ชายคนนี้ชื่อว่า Kolschitsky เขาเชื่อว่าชายผู้นี้เป็นผู้เรียนรู้วิธีการคั่วและการชงกาแฟมาจากชาวอาหรับอีกทั้งยังพูดภาษาอาหรับได้อีกด้วย ชาวเวียนนาจึงจ้าง Kolschitsky ให้เป็นสายลับและถ่ายทอดวิชากาแฟให้ ในช่วงสงครามกับกองทัพของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งภายหลังชาวอาหรับได้ทิ้งกาแฟไว้มากมายหลายกระสอบหลังสงคราม  ที่เวนิสนี้นอกจากเป็นประตู่สู่ยุโรปสำหรับกาแฟแล้ว ยังมีร้านคาเฟ่ร้านหนึ่งแห่งเวนิสชื่อว่า Florain ที่ Piazza San Marco เปิดตัวในปี 1720 เป็นร้านที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดบริการจนกระทั้งทุกวันนี้

England

               ในปี 1652 Pasqua Rosée ชาวกรีกได้เปิดร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่งที่ถนน St. Michael’s Alley ในลอนดอน  นาย Rosée ขายกาแฟได้ถึงวันล่ะ 600 แก้วต่อวัน แค่เวลาสั้นๆ ลอนดอนมีร้านกาแฟเปิดขึ้นทุกหนแห่ งคาดว่าในช่วงต้นปีศตวรรษที่ 17 มีร้านกาแฟในลอนดอนราว ๆ 3,000 แห่ง  ร้านกาแฟเป็นสถานที่สำคัญของบุคคลทั่วไป เป็นที่พบปะของนักธุรกิจข้อตกลง การเซ็นต์สัญญา การแลกเปลี่ยนข่าวสารร้านกาแฟเป็นจุดกำเนิดสถาบันหลายอย่างเช่นตลาดหลักทรัยพ์ บริษัทประกัน Baltic และ Lloyds ร้านกาแฟเป็นที่พักผ่อนของบรรดานักเขียน กวี ทนายความ นักปรัชญา นักการเมือง ร้านกาแฟ บางแห่งเก็บค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการอัตราคนละ 1 เพนนี เพื่อให้สามารถถกเถียงให้ความคิดเห็นในด้านการเมืองและวรรณกรรมจนเป็นที่รู้จักในนามมหาวิทยาลัยเพนนี่ภายในร้านมีกล่องทองเหลืองสลักคำว่า To Insure Promptness เพื่อความทันใจ ภายหลังถูกย่อให้สั้นเหลืออักษร ตัวแรกคือทิป (Tip) ร้านกาแฟได้ถูกเรียกว่าเป็น Penny Universities ร้านกาแฟกลายเป็นสถานที่นิยมอย่างมากสำหรับผู้ชาย จนกระทั้งมีกลุ่มแม่บ้านผู้ไม่พอใจที่ฝ่ายชายใช้เวลาที่ร้านกาแฟมากเกินไปจนไม่สนใจครอบครัว ได้ออกมายืนคำร้องต่อต้านในปีศตวรรษที่ 1674 ส่วนกลุ่มของฝ่ายชายก็ออกมาตอบโต้ฝ่ายหญิงเช่นกัน ในปี 1675 พระราชาสามอาณาจักร  King Charles II of England ได้พยายามสั่งประกาศปิดร้านกาแฟ เนื่องจาก ผู้หญิงอังกฤษต่อต้านการดื่มกาแฟ เพราะผู้ชายใช้เวลาและเงินทองหมดไปที่ร้านกาแฟนอกบ้าน และกังวลต่อความมั่นของบัลลังก์ พระองค์กล่าวว่า” they were where people met to plot against him”แต่เพิ่งออกประกาศไปไม่ทันไรปลายพู่กันจะแห้ง พ่อค้ารายใหญ่รายย่อยได้ถวายฎีกาให้รีบยกเลิกการปิดร้านกาแฟ ภายหลังในปีศตวรรษที่ 18  บรรยากาศร้านกาแฟมีการเปลี่ยนไป ร้านกาแฟมีการเสริฟเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ลมากขึ้น กลุ่มลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง นักธุรกิจนิยมดำเนินธุรกิจของตนในสถานที่ทำงานที่เป็นหลักแหล่งที่สะดวกปลอดภัยกว่า โรงงานและสถานที่ทำงานจัดให้มีห้องสมุด ทำให้หนังสือพิมพ์และหนังสือต่างๆ สามารถหาได้ง่ายขึ้น ร้านกาแฟจึงเสื่อมความนิยมในเวลาต่อมา  ผู้คนหันไปสนใจดื่มชาที่มาจากจีน ญี่ปุ่น และอินเดียมากขึ้น ในสังคมพ่อค้าและสังคมชนชั้นสูง ในแต่ล่ะปีคนอังกฤษดื่มชา 1.9 กิโลกรัมต่อคนถือเป็นประเทศที่มีการบริโภคชามากที่สุดในโลก

              ที่ฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้นปี 1644 กาแฟได้ถูกนำเสนอต่อชาวฝรั่งเศษผ่านการค้าขายทางเรือที่ท่าเรือ Marseille ต่อมาในปี 1669 ฝรั่งเศสมีการสัมพันธ์ทางการฑูตกับออนโตมันโดยได้รับกาแฟหลายกระสอบจากอาหรับ มีการบรรยายถึงกาแฟของชาวอาหรับว่าเป็น “magical beverage” หลังจากนั้นวัฒนธรรมทุกอย่างของชาวอาหรับกลายเป็นที่นิยมอย่างท่วมท้นในฝรั่งเศส ร้านกาแฟแหล่งแรกจริงๆ เกิดขึ้นในปี 1686 ร้านชื่อว่า Café de Procope ซึ่งต่อมากลายเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากนักเขียน นักแสดง นักดนตรีชื่อดังทั้งหลาย อีกทั้งที่นี่ยังเป็นสถานที่ๆ นโบเลียนชอบมานั่งดื่มกาแฟวางแผนปฏวัติของเขาอีกด้วย ปัจจุบัน Café de Procope ยังคงตั้งตระงานท้าทายกาลเวลาจนปัจจุบัน (still trading)
ใน 1715 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นผู้รักการดื่มกาแฟและมีพระประสงค์จะปลูกกาแฟ ชาวดัทช์ซึ่งประสบความสำเร็จในการปลูกกาแฟที่ชวาได้ถวายต้นกาแฟแก่พระองค์ ในตอนนั้นถูกเรียกว่าต้นไม้ชั้นสูง ได้นำมาปลูกในสวนพฤษศาสตร์ กรุงปารีส เนื่องจากกาแฟไม่ทนทานต่อความหนาวเย็น จึงมีการสร้างเรือนกระจกเพื่อปลูกกาแฟนับเป็นเรือนกระจกพืชเรือนแรกของโลก ฝรั่งเศสเคยพยายามนำกาแฟไปปลูกในดินแดนภายใต้ปกครองเช่นกันโดยมีการนำการแฟจากเยเมนไปปลูกในเกาะเบอร์บอน ได้นำไปปลูกที่เกาะ Bourbon ติดกับ เกาะมาดากัสก้าปัจจุบันเรียกว่า Réunion ( ปัจจุบันคือเกาะลารียูเนียน ) เกาะภูเขาไฟเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย 800 กิโลเมตรจากเกาะมาดากัสการ์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1708 แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนในปี ค.ศ. 1715-1718 มีการนำกาแฟมาปลูกอีกและประสบผลสำเร็จ จนในปี ค.ศ.1817 กาแฟให้ผลผลิตเป็นจำนวน ถึง 1,000 ตัน กาแฟจากเกาะเบอร์บอน เป็นพันธุ์อาราบิก้าที่สำคัญคือชื่อพันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) เริ่มต้นจากเกาะแห่งนี้ และได้นำรุ่นลูกหลานไปปลูกในที่อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ฝรั่งเศสได้มีการส่งมอบกาแฟให้ประเทศบลาซิล และเวียดนามที่เรียกว่า french mission จนกระทั้้งบราซิลและเวียดนามกลายเป็นประเทศที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลกตามลำดับ การดื่มกาแฟที่ฝรั่งเศสหากยืนดื่มหน้าบาร์ก็จะจ่ายถูกว่านั่งโต๊ะด้านในและจะแพงขึ้นอีกนิดเมื่อนั่งโซนด้านนอก ส่วนที่ออสเตรเลียนั่งตรงไหนก็จ่ายเท่ากันแต่ไม่นั่งทั้งวันอย่าง Thailand 😉

(หาข้อมูลเพลียเอาไว้ว่างๆมาเขียนใหม่นะครับ)

 

อ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ
Timeline Coffee history
The world’s most historic coffee houses
the Art of Ordering Coffee in Austria
อ่านเพิ่มเติมภาษาไทย
http://www.roytawan.com
https://sites.google.com/site/
http://www.montorecoffee.com

 

 

 

Top